วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติกล้องถ่ายรูป


ประวัติกล้องถ่ายรูป


    มนุษย์ในสมัยที่ยังไม่มีการประดิษฐ์คิดค้นกล้องถ่ายภาพขึ้นมานั้นใช้การวาดภาพในการบันทึกความทรงจำและสื่อความหมายต่างๆ    แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นั้น  มนุษย์ได้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพขึ้นจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2 สาขา  คือ

      1.) ฟิสิกส์  ได้แก่เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ

      2.) เคมี  ได้แก่เรื่องเกี่ยวกับสารไวแสงและน้ำยาสร้างภาพ

      การถ่ายภาพเป็นการรวม 2 หลักการที่สำคัญเข้าด้วยกัน  คือ  การทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุ  ไปปรากฏบนฉากรองรับ  และการใช้สื่อกลางในการบันทึกภาพจำลองให้ปรากฏอยู่ได้อย่างคงทนถาวร
อริสโตเติล  นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกเป็นผู้บันทึกหลักการแรกไว้เมื่อ 400 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ซึ่งมีใจความว่า..  "ถ้าเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางรูเล็กๆ ในห้องมืด  ถือกระดาษขาวให้ห่างจากรูรับแสงประมาณ 15 ซม. จะปรากฏภาพหัวกลับที่ไม่ค่อยชัดเจนนักบนกระดาษ"
ต่อมาจึงได้ใช้หลักการนี้ในการประดิษฐ์ "กล้องออบคิวรา" ซึ่งเป็นภาษาละติน  หมายถึง  "ห้องมืด"  หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า "กล้องรูเข็ม" นั่นเองวิชาถ่ายภาพตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Photography" มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก  โดย "Phos = แสงสว่าง" และ "Graphein = เขียน"  เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง "เขียนด้วยแสงสว่าง แต่ในปัจจุบันนี้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการทำให้ภาพเกิดขึ้นโดยใช้แสงสว่างมากระทบกับวัสดุไวแสง และครอบคลุมไปถึงการถ่ายรูป  การล้างฟิล์ม  การอัดขยายภาพ  และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน กล่าวโดยสรุป  วิชาการถ่ายรูปก็คือ  "ความรู้ที่ว่าด้วยกระบวนแห่งการสร้างรูปโดยอาศัยแสงสว่างเข้าช่วย"  นั่นเองสำหรับการถ่ายภาพในประเทศไทยนั้น  ได้มีช่างถ่ายภาพคนแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศส นามปาเลอปัว  ส่วนช่างถ่ายภาพชาวไทยคนแรก คือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือ นายโหมด  ต้นตระกูลอมาตยกุล  ซึ่งมีชื่อเสียงในการถ่ายภาพเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป  และช่างถ่ายภาพที่มีผลงานเก็บรักษาในหอสมุดแห่งชาติจำนวนมากจนถึงปัจจุบันนี้ คือ หลวงอัคนีนฤมิตร หรือ นายจิตร เป็นช่างหลวงในสมัยรัชการที่ 4 และ 5 ซึ่งมีผลงานภาพถ่ายบุคคลทุกชนชั้น  และยังมีภาพถ่ายสถานที่  ตลอดจนภาพเหตุการณ์ต่างๆ

กล้องถ่ายรูป (Camera)


         เรื่องราวของกล้องถ่ายรูปเริ่มต้นจากความกระหายที่จะบันทึกสิ่งต่าง ๆ เช่น ภาพวิวทิวทัศน์และผู้คนด้วยความเที่ยงตรง อุปกรณ์ที่ใช้เรียกว่า camera obscure ความหมายของคำนี้คือ ห้องมืด ซึ่งนำมาจากห้องที่ทำให้เป็นสีดำ มืดมิด หรือพื้นที่ที่จะถูกเจาะรูให้เป็นรูเล็กๆ  แสงจะผ่านมาทางรูและฉายภาพกลับหัวไปที่กำแพง กำแพงสะท้อนแสดงที่มีสีสว่าง วิธีนี้เคยเป็นและยังคงเป็นวิธีดูภาพสุริยุปราคาโดยไม่ทำให้สายตาเสีย แต่ในช่วงหลัง เหล่าศิลปินใช้วิธีนี้ในการติดตามภาพเพื่อสร้างการนำเสนอวัตถุที่แน่นอน

 

โจเซฟ-นิเซเฟอร์ นีพเซ่

         เมื่อจ้องมองไปที่ภาพที่สร้างโดยวิธี camera obscure เราจะสามารถจินตนาการถึงความปรารถนาในการรักษาไว้ซึ่งการสร้างภาพลักษณ์ของปัจเจกบุคคล บุคคลเช่นนั้นคือชาวฝรั่งเศล โจเซฟ-นิเซเฟอร์ นีพเซ่ (Joseph-Nicephore Niepce ค.ศ.1765-1833) นักพิมพ์ภาพบนแผ่นหินหรือวัตถุอื่นที่เรียบ (กระบวนการวาดภาพทางศิลปะ) มือสมัครเล่น
         เขาไม่ใช่ศิลปิน แต่นีฟเซ่ก็ได้รับพรสวรรค์เรื่องความฉลาดและช่างคิด ในปี 1822 เขาได้ใช้ยางแอสฟัลต์ที่เรียกว่าbitumen (สารธรรมชาติที่ประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่) oil Judea มาผสมกับน้ำมันลาเวนเดอร์ จากนั้นก็วางแผ่นโลหะให้รับแสงโดยผ่านตัวกรองแสงอาทิตย์ที่สลักภาพอย่างโปร่งใส เมื่อแสงอาทิตย์ได้สัมผัสกับ bitumen สารนั้นก็จับตัวแข็งและคงรูป ส่วนที่เข้มกว่า หมายถึงส่วนที่ไม่ได้สัมผัสแสงมากนักก็จะล้างออกไป
         นีฟเซ่ทำงานและทำให้กระบวนการทำงานของเขามีความสมบูรณ์จากนั้นเขาก็ใช้ camera obscure ผสานกับกระบวนการนี้ เขาติดแผ่นจานที่ทำจากโลหะผสมระหว่างตะกั่วหรือดีบุกเข้ากับกล้อง ทำให้เขาสามารถบันทึกภาพของลานบ้านตามที่มองจากบ้านเขาได้ในปี 1826 ต้องใช้เวลากว่า 8 ชั่วโมงในการทำให้เกิดภาพ แต่เมื่อทำเสร็จแล้วเขาก็มีภาพถ่ายเป็นภาพแรก เมื่อนิฟเซ่ทำให้กระบวนนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น เขาก็สามารถพิมพ์ภาพให้ปรากฏอยู่ในก้อนหิน กระจก สังกะสีและโลหะผสมระหว่างดีบุกหรือตะกั่วและเรียกผลงานนี้ว่า ภาพถ่ายถาวรที่เกิดขึ้นบนแผ่นวัตถุ (heliograph)หรือ ภาพวาดของดวงอาทิตย์

กำเนิดกล้องถ่ายภาพชนิดแรก

  แนวคิดในการถ่ายภาพนั้นเริ่มมาเป็นเวลานานแล้ว โดยมาจากสมัยพวกชนเผ่าแร่ร่อนในอียิปต์ ซึ่งท่องเที่ยวกลางเต้นท์อยู่ในทะเลทราย เมื่อถึงเวลาบ่ายแดดร้อนจัดก็หยุดเดินทางเข้าไปพักผ่อนในเต้นท์ซึ่งมืด และได้สังเกต เห็นแสงของดวงอาทิตย์ลอดผ่านรูเต้นท์มากระทบวัตถุแล้วทำให้เกิดเงาเป็นรูปร่างขึ้นที่ผนังอีกด้านหนึ่ง โดยได้เงาหัวกลับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักหรือกฎเบื้องต้นของการถ่ายรูป
เมื่อประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตศักราช อริสโตเติล นักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกได้บันทึกไว้ว่า หากเราปล่อยให้ผ่านเข้าไปทางช่องเล็กๆ ในห้องมืด แล้วถือกระดาษขาวให้ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15 ซ.ม. จะปรากฏภาพบนกระดาษ ลักษณะเป็น “ภาพจริงหัวกลับ” แต่ไม่ชัดเจนนัก   สิ่งที่เขาค้นพบนั้น ถือว่าเป็นกฎของกล้องออบสคิวร่า (camera obscura เป็นภาษาลาติแปลว่า "ห้องมืด") และคงรักษาไว้หลายร้อยปีต่อมา




หลักการของกล้อง camera obscura

  
ค.ศ. 1490 ลีโอนาโด ดาวินชี นักวิทยาศาสตร์และศิลปินชาวอิตาลี่ได้บันทึกคำอธิบายเกี่ยวกับหลักการทำงานของกล้องออบสคิวร่า ทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าใจหลักการทำงานของกล้องมากขึ้น โดยเฉพาะพวกจิตรกรสนใจนำกล้องไปช่วยในการวาดภาพลอกแบบ เพื่อให้ได้ภาพในเวลารวดเร็วและมีสัดส่วนเหมือนจริง


จิตรกรสมัยโบราณใช้หลักการ obscura เพื่อช่วยในการวาดภาพ





  

  

 วิวัฒนาการของกล้อง obscura


 สารไวแสงกับการคงสภาพของภาพถ่าย

      แม้จะมีการค้นพบหลักการ camara obcura ที่ทำให้ภาพเหมือนจริงมาปรากฏบนฉากได้ตามต้องการมานานกว่า 2 พันปี แต่คนในสมัยโบราณไม่สามารถคงสภาพของภาพนั้นให้คงอยู่ได้อย่างถาวร จนกระทั่ง ใน พ.ศ. 2370 โจเซฟ เนียฟ (Joseph Nicéphore Niépce) ได้ประสบความสำเร็จในการคงสภาพ เขาใช้แผ่นดีบุกผสมตะกั่วฉาบด้วยสารบิทูเมนถ่ายภาพตึกซึ่งอยู่ตรงข้ามกับห้องทำงานในบ้านของเขาที่ด้วยกล้องออบสคูรา โดยใช้เวลานาน 8 ชั่วโมง ภาพที่ได้เป็นโพสิตีฟคือส่วนที่ถูกแสงจะเป็นสีจางลงและแข็งตัว ส่วนที่ไม่ถูกล้างออกจึงเป็นสีดำ ซึ่งเป็นสีของแผ่นดีบุกผสมตะกั่วนั่นเองภาพถ่ายนี้ นับเป็นภาพถ่าย ภาพแรกของโลกที่หลงเหลืออยู่

   
  

  โจเซฟ เนียฟ และภาพถ่ายภาพแรก 

            ใน พ.ศ. 2369 ดาแกร์ได้เขียนจดหมายติดต่อกับเนียฟ ถึงเรื่องการค้นคว้าเกี่ยกวับกระบวนการถ่ายภาพของเขา และใน พ.ศ.2370 ขณะที่เนียฟมีโอกาสเดินทางไปกรุงปารีส จึงได้ไปพบดาแกร์และพูดคุยเกี่ยวกับการทดลองค้นคว้า เขาทั้งสองได้ติดต่อกันเรื่อยมา จนกระทั่งใน พ.ศ.2372 เขาจึงได้ทำสัญญาร่างหุ้นกัน เพื่อทำให้กระบวนการเฮลิโอกราฟที่เนียฟคิดค้นสมบูรณ์แบบ โดยมีกำหนด 10 ปี แต่ดำเนินการได้เพียง 4 ปี เนียฟก็ถึงแก่กรรมใน พ.ศ.2376 ดาแกร์จึงได้ดำเนินหุ้นกับลูกชายของเนียฟต่อไปใน พ.ศ.2378 เขาได้สังเกตเห็นเพลทซึ่งเขาถ่ายไว้หลายวันในตู้ มีภาพปรากฏเขาค้นพบต่อมาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลมากจากไอปรอทของเทอร์โมมิเตอร์ที่แตกหลอดหนึ่ง แต่ภาพที่ปรากฏนั้น ยังไม่ถาวรเขาจึงได้ทำการค้นคว้าต่อ โดยนำกระบวนการเฮลิโอกราฟของเนียฟไปร่วมกับกระบวนการ ไดโอรามาของเขาต่อมาใน พ.ศ.2380 เขาก็ได้ประสบความสำเร็จ ในการทำภาพให้ติดถาวรได้ด้วยการใช้สารละลายเกลือธรรมดา (Common salt) และเรียกระบวนการนี้ว่า ดาแกร์โรไทฟ์ (Daguerreotype)  



กล้องดาแกร์โรไทฟ์ และภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดาแกร์โรไทฟ์



             ในเวลาต่อมา วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต ( William Henry Fox Talbot ) ชาวอังกฤษ ได้ค้นพบว่า “เงินคลอไรด์”( Silver Chloride ) เป็นสารที่มีความไวต่อแสงสว่าง ซึ่งสามารถฉาบลงบนกระดาษได้ ทำให้ได้กระดาษไวแสงที่จะนำไปอัดภาพ เขาได้ทดลองนำใบไม้ ขนนก มาวางทับกระดาษไวแสง พบว่า ส่วนที่วัตถุทับอยู่จะเป็น สีขาวแต่ส่วนที่ถูกแสงสว่างจะเป็นสีดำ เมื่อนำไปล้างในสารละลายเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ ได้ภาพที่เรียกว่า “ภาพPhotogenic Drawing” ที่มีลักษณะเป็นสีตรงข้ามกับต้นแบบคือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว หรือที่เรียกว่า "ภาพเนกาตีฟ" ในปัจจุบัน ซึ่งแทลบอตใช้เป็นต้นแบบในการอัดภาพ ภาพต่อๆ มาจะเป็นภาพโพสิตีฟ ฉะนั้นวิธีการของแทลบอตจึงดีกว่ากระบวนการของดาร์แกโรไทพ์ ตรงที่สามารถอัดภาพได้หลายภาพตามต้องการ แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ สีของภาพจะซีดจางลง

วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต



         ระยะต่อมาการถ่ายภาพกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสนใจและผู้ที่ทำให้การถ่ายรูปอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปมากขึ้นคือ George Eastman เขาได้จัดขายกล้องที่มีฟิล์มม้วนบรรจุอยู่ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งหมายถึงว่าผู้ที่ซื้อกล้องจะซื้อกล้องที่มีฟิล์มใส่ไว้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อถ่ายเสร็จก็ส่งไปให้บริษัทของ Eastman จัดการเปลี่ยนฟิล์มใหม่ และล้างอัดขยายภาพจากเนกาทีฟที่ดีให้ด้วย Eastman ตั้งชื่อบริษัทว่า "Kodak" ซึ่งเขาบอกว่าชื่อที่ตั้งนี้ฟังเสียงคล้ายเสียงกดชัดเตอร์ของกล้อง
นอกจากนี้ Eastman ยังมีบทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ในปี ค.ศ.1895 เขาได้เปลี่ยนฟิล์มจากฟิล์มกระดาษธรรมดามาเป็นฟิล์มโปร่งแสงซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์ทำให้ฟิล์มทนทานขึ้น และผู้ถ่ายก็สามารถใส่ฟิล์มได้เอง การล้างอัดขยายภาพก็กว้างขวางออกไป โดยมีร้านขายยารับทำหน้าที่นี้ด้วย จนกระทั่งการถ่ายภาพได้รับความนิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชนคนทั่วไป


ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ
        
          ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูปกล้องถ่ายรูปที่นิยมมากในปัจจุบัน แม้จะมีความสามารถ และคุณลักษณะแตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบ คล้ายคลึงกันคือ
          1. ตัวกล้อง (Body) ทำหน้าที่เป็นห้องมืด ป้องกันแสงภายนอกเข้าไปถูกฟิล์มที่บรรจุอยู่ภายในและเป็นที่ยึดส่วนประกอบ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยในการถ่ายรูป

          2. เลนส์ (Lens) ทำหน้าที่รับแสงสะท้อนจากวัตถุ ส่งไปยังฟิล์มที่บรรจุอยู่ในตัวกล้องฟิล์มจะบึนทึกภาพเอาไว้ กล้องบางชนิดสามารถถอด เปลี่ยนเลนส์ได้ตามความต้องการ เช่น กล้องประเภท SLR (Single len Reflex) หรือเรียกว่ากล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยว เลนส์จะผนึกอยู่ข้างหน้าตัวกล้อง ซึ่งมีขนาด ความยาวโฟกัสแตกต่างกัน เช่น 50 มม . 35 มม . 105 มม . เป็นต้น

          3. ช่องมองภาพ (View Finder) ปกติช่องมองภาพจะอยู่ด้านหลังของตัวกล้องเป็นจอมองภาพ เพื่อช่วยในการประกอบ และจัดองค์ประกอบของภาพ ให้มีความสวยงามตามหลักของศิลปะการถ่ายรูป

          4. ชัตเตอร์ (Shutter) ทำหน้าที่ควบคุมเวลาฉายแสง (Exposure Time) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไวของชัดเตอร์ (Shutter Speed)

          5. แผ่นไดอะแฟรม (Diaphram) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณความเข้มของการส่องสว่างของแสงที่ตกลงบนแผ่นฟิล์ม มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หลาย ๆ แผ่นซ้อนเหลี่ยมกันอยู่

         6. รูรับแสง (Aperture) เป็นรูเปิดของแผ่นไดอะแฟรมให้มีขนาดต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น เมื่อต้องการให้แสงเข้ามากก็เปิดรูรับแสงให้มีขนาดใหญ่ และทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการปริมาณแสงเข้าไปถูกฟิล์มน้อยก็เปิดรูให้เล็กลง การเปิดขนาดของรูรับแสงแตกต่างกันนี้มีตัวเลข
















หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ
            หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ คือ การที่แสงสะท้อนจากวัตถุเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็กๆ ของกล่องสี่เหลี่ยม เกิดภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้ามเป็นภาพหัวกลับ อันเป็นหลักการของการสร้างกล้องรูเข็มในสมัยโบราณ ปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพได้พัฒนามาโดยลำดับ เช่น มีการนำเอาเลนส์นูนไปติดตั้งที่ช่องรับแสงที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องให้มากขึ้น ทางด้านตรงกันข้ามของเลนส์เป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสงหรือฟิล์ม สามารถปรับตัวเลนส์เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนบนฟิล์มได้ มีการติดตั้งไดอะแฟรมปรับให้เกิดช่องรับแสงขนาดต่างๆ รวมทั้งมีส่วนที่เรียกว่าชัตเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิด-ปิด ม่าน เพื่อให้ปริมาณแสงตกกระทบกับฟิล์มตามความเหมาะสม และยังมีช่องเล็งภาพเพื่อช่วยในการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายให้เกิดความสวยงาม


 
หลักการทำงานของกล้องรูเข็ม


 
                                                หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ

 

ดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพ
           ส่วนประกอบและการทำงานของดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีส่วนสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ
           1. ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาพ ทั้งดวงตาและกล้องถ่ายภาพจะมีส่วนที่เป็นเลนส์ ในดวงตาของมนุษย์ ก่อนที่แสงจะตกกระทบเลนส์ต้องผ่านชั้นของเยื่อที่เรียกว่าคอร์เนีย (Cornea) ทำหน้าที่ช่วยเลนส์ในการหักเหแสงให้ภาพตกลงบนจอตาพอดี เลนส์ของกล้องถ่ายภาพมีระบบกลไก เปิด-ปิด ให้แสงผ่านเข้าไปยังแากหลังควบคุมเวลาด้วยชัตเตอร์ (Shutter) ส่วนดวงตาควบคุมด้วยหนังตา (Eyelid) ในส่วนหนึ่งของเลนส์ถ่ายภาพจะมีไดอะแฟรม (Diaphragm) สามารถปรับให้เกิดช่องรับแสง (Aperture) ขนาดต่างๆ เช่นเดียวกับดวงตาจะมีส่วนที่เรียกว่าม่านตา (Iris) ตรงกลางของม่านตาจะมีช่องกลมเรียกรูม่านตาหรือพิวพิล (Pupil) เป็นทางให้แสงผ่าน สามารถปรับให้มีขนาดต่างๆ กันโดยอัตโนมัติ เช่น ในที่ๆ มีแสงสว่างมากรูม่านตามจะปรับให้มีขนาดเล้ก ส่วนในที่ๆ มีแสงสลัวๆ รูม่านตาจะปรับให้มีขนาดกว้างขึ้น
            2. ส่วนที่ไวแสง ได้แก่ ส่วนที่เป็นฉากหลังในกล้องถ่ายภาพจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสง ได้แก่ ฟิล์มส่วนในดวงตา ได้แก่ จอตาเป็นฉากรับภาพ เรียกว่า เรตินา (Retina) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานประสาท ประกอบด้วยเส้นประสาทไวต่อแสงและเชื่อมโยงไปยังส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้ทราบถึงรูปร่าง ขนาด ลักษณะของพื้นผิว 


 

ส่วนประกอบของดวงตามนุษย์



















อ้างอิง

http://www.oknation.net/blog/PCU-tapra/2009/09/19/entry-7
http://www.learners.in.th/blogs/posts/361505
http://medinfo.psu.ac.th/radiology/rt/camera/content2.html
http://medinfo.psu.ac.th/radiology/rt/camera/content3.html







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น